เมนู

อรรถกถาสูตรที่ 10



ประวัติพระวักกลิเถระ



พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า สทฺธาธิมุตฺตานํ ทรงแสดงว่า พระวักกลิเถระ
เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้น้อมใจไปด้วยศรัทธา มีศรัทธาแรง จริงอยู่
ศรัทธาของคนอื่น ๆ มีแต่ทำให้เจริญ ส่วนของพระเถระต้องลดลง
เพราะฉะนั้นพระเถระนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นยอด
ของเหล่าภิกษุผู้น้อมใจไปด้วยศรัทธา. คำว่า วักกลิ เป็นชื่อของ
พระเถระนั้น. ในปัญหากรรมของพระเถระนั้น มีเรื่องที่จะกล่าว
ตามลำดับต่อไปนี้ :-
ดังจะกล่าวโดยย่อ ในอดีตกาล ครั้งพระปทุมุตตรพุทธเจ้า
พระเถระนี้ไปวิหารยืนฟังธรรมท้ายบริษัทโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเป็นยอด
ของเหล่าภิกษุผู้น้อมใจไปด้วยศรัทธา จึงคิดว่า แม้เราก็ควรเป็น
เช่นนี้ในอนาคตกาล จึงนิมนต์พระศาสดาโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล
ถวายมหาทาน 7 วัน ถวายบังคมพระทศพลแล้วกระทำความ
ปรารถนาว่า พระเจ้าข้า ด้วยกุศลกรรมอันนี้ ขอข้าพระองค์พึง
เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้น้อมใจไปด้วยศรัทธา ในศาสนาของพระ-
พุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตเหมือนภิกษุที่พระองค์ทรงสถาปนา
ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะของเหล่าภิกษุผู้น้อมใจไปด้วยศรัทธา.

พระศาสดาทรงเห็นว่า ท่านไม่มีอันตรายจึงทรงพยากรณ์แล้ว
เสด็จกลับไป.
ฝ่ายท่านกระทำกุศลตลอดชีพแล้วเวียนว่ายอยู่ในเทวดา
และมนุษย์ ถือเอาปฏิสนธิในตระกูลพราหมณ์กรุงสาวัตถี ครั้ง
พระศาสดาของเรา ญาติทั้งหลายได้ขนานนามของท่านว่า วักกลิ
ท่านเจริญวัยแล้ว เรียนไตรเพท เห็นพระทศพลมีภิกษุสงฆ์แวดล้อม
เสด็จจาริกในกรุงสาวัตถี ตรวจดูสรีรสมบัติของพระศาสดา
ไม่อิ่มด้วยการเห็นสรีรสมบัติ จึงเที่ยวไปพร้อมกับพระทศพล
นั้นด้วย เสด็จไปวิหารก็ไปกับพระทศพล ยืนมองความสำเร็จแห่ง
พระสรีรสมบัติอยู่เทียว ยืนฟังธรรมในที่เฉพาะพระพักตร์แห่ง
พระศาสดาผู้ประทับนั่งตรัสธรรมในธรรมสภา ท่านได้ศรัทธา
แล้วคิดว่า เราอยู่ครองเรือนไม่ได้เห็นพระทศพลเป็นนิตย์ จึงทูล
ขอบรรพชา บวชแล้วในสำนักของพระศาสดา ตั้งแต่นั้น เว้นเวลา
กระทำอาหาร ในเวลาที่เหลือยืนอยู่ในที่ที่ยืนเห็นพระทศพล จึงละ
โยนิโสมนสิการเสีย อยู่พระทศพลอย่างเดียว พระศาสดาทรงรอ
ให้ญาณของท่านสุกเสียก่อน เมื่อท่านเที่ยวไปดูรูปในที่นั้น ๆ เป็น
เวลายาวนานก็ไม่ตรัสอะไร ทรงทราบว่า บัดนี้ญาณของท่าน
แก่กล้าแล้ว ท่านอาจตรัสรู้ได้ จึงตรัสอย่างนี้ว่า วักกลิ ท่านจะ
ประโยชน์อะไรด้วยมองรูปกายอันเปื่อยเน่านี้ที่ท่านเห็น วักกลิ
ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม
วักกลิ เห็นธรรมจึงจะชื่อว่าเห็นเรา. เมื่อพระศาสดาแม้ทรงโอวาท
อยู่อย่างนี้ พระเถระก็ไม่อาจละการดูพระทศพลแล้วไปในที่อื่น

แต่นั้นพระศาสดาทรงดำริว่า ภิกษุนี้ไม่ได้ความสังเวชจักไม่ตรัสรู้
เมื่อใกล้เข้าพรรษา ทรงประกาศขับไล่พระเถระนั้นว่า วักกลิ
จงหลีกไป ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงมีพระดำรัสที่พึงยึดถือ
เพราะฉะนั้น พระเถระจึงยืนโต้ตอบพระศาสดาไม่ได้ ไม่บังอาจมา
เฉพาะพระพักตร์พระทศพล คิดว่า บัดนี้เราจะทำอย่างไรได้ เราถูก
พระตถาคตประฌามเสียแล้ว เราก็ไม่ได้อยู่ต่อหน้าพระองค์ ประโยชน์
อะไรด้วยชีวิตของเรา จึงขึ้นสู่ที่เขาขาดที่เขาคิชฌกูฏ พระศาสดา
ทรงทราบว่า พระเถระนั้นมีความลำบาก ทรงดำริว่า ภิกษุนี้เมื่อ
ไม่ได้ความปลอบใจจากเรา ก็จะพึงทำลายอุปนิสัยแห่งมรรคผลเสีย
จึงทรงเปล่งรัศมีไปแสดงพระองค์ ครั้งนั้น ตั้งแต่พระวักกลินั้น
เห็นพระศาสดาก็ละความโศกศัลย์อย่างใหญ่ ด้วยประการฉะนี้.
พระศาสดาเพื่อจะให้พระวักกลิเถระเกิดปีติโสมนัสสรงขึ้น เหมือน
หลั่งกระแสน้ำลงในสระที่แห้ง จึงตรัสพระคาถาในพระธรรมบทว่า

ปาโมชฺชพหุโล ภิกฺขุ ปสนฺโน พุทฺธสาสเน
อธิคจฺเฉ ปทํ สนฺตํ สงฺขารุปสมํ สุขนฺติ.
ภิกษุผู้มากด้วยความปราโมทย์ เลื่อมใสใน
พระพุทธศาสนา จะพึงบรรลุบทอันสงบที่ระงับ
สังขาร เป็นความสุขดังนี้.


อนึ่ง พระศาสดาทรงเหยียบพระหัตถ์ประทานแก่พระวักกลิ-
เถระว่า มาเถิดวักกลิ. พระเถระบังเกิดปีติอย่างแรงว่า เราเห็น
พระทศพลแล้ว ได้รับพระดำรัสตรัสเรียกว่า มาเถิดวักกลิ ทั้งไม่รู้

การไปของตนว่าจะไปทางไหน จึงโลดแล่นไปในอากาศต่อพระพักตร์
พระทศพล แล้วทั้งเท้าแรกเหยียบบนภูเขา นึกถึงพระดำรัสที่
พระศาสดาตรัสแล้ว ข่มปีติในอากาศนั่นเอง บรรลุพระอรหัตพร้อม
ด้วยปฏิสัมภิทา ลงมาถวายบังคมพระตถาคต. ภายหลังพระศาสดา
ประทับนั่งท่ามกลางหมู่พระอริยะ ทรงสถาปนาพระเถระไว้ใน
ตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้น้อมใจไปด้วยศรัทธา.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 10
จบ วรรคที่ 2.

วรรคที่ 3



ว่าด้วยภิกษุผู้มีตำแหน่งเลิศ 1 ท่าน



[148] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราหุล เลิศกว่าพวกภิกษุ
สาวกของเราผู้ใคร่ต่อการศึกษา.
พระรัฐปาละ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้บวชด้วยศรัทธา.
พระกุณฑธานะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้รับสลากก่อน.
พระวังคีสะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีปฏิภาณ.
พระอุปเสนวังคันตบุตร เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้นำ
ความเลื่อมใสมาโดยรอบ.
พระทัพพมัลลบุตร เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้จัดแจง
เสนาสนะ.
พระปิลินทวัจฉะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้เป็นที่รัก
เป็นที่ชอบใจของเทวดาทั้งหลาย.
พระพาหิยทารุจีริยะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ตรัสรู้
ได้เร็วพลัน.
พระกุมารกัสสปะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้แสดงธรรม
ได้วิจิตร.
พระมหาโกฏฐิตะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้บรรลุ
ปฏิสัมภิทา.
จบ วรรคที่ 3